ของใช้ทั่วไป


      กล่องใส่กระดาษทิชชู  เป็นกล่องที่ได้จากผ้าคราม  มาตัดเย็บเป็นกล่องใส่กระดาษ
เพื่อเพิ่มรายได้อีกทางของกลุ่มแม่บ้าน
                              

  
    ที่รองแก้ว 
 ส่วนใหญ่มักจะนำผ้าครามมาเย็บเพียงขอบของจานรองแก้วเท่านั้น
                
     ผ้าเช็ดมือ  มีลักษณะเป็นผ้าเช็ดมือที่ทำจากผ้าครามทั้งผืน
                                        
                                                     
     ผ้าเช็ดปาก  มีลักษณะเป็นผืนสีเหลี่ยมจัตุรัส  ที่ทำจากผ้าครามทั้งผืน
                                                    
  
กระเป๋ากระจกเอนกประสงค์  มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ด้านในเมื่อเปิดเข้าไปจะมีกระจกและไม้จิ้มฟัน
                                                    
    กระเป๋าถือ  มีลักษณะนำผ้าครามมาตัดเย็บ  โดยสามารถเย็บแบบประยุกต์เป็นรูปสัตว์ก็ได้
                            
                                                   
   กระเป๋าสะพาย   ลักษณะกระเป๋าเป็นผ้าครามทั้งใบ มีสายสามารถสะพายด้านข้างเหนือสะพายโดยบ่าข้างเดียว
                                                      

เครื่องนุ่งห่ม

        เสื้อคราม  เป็นผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้มาก  โดยลักษณะเป็นเสื้อที่ตัดโดยผ้าครามทั้งตัวในแบบที่ทันสมัยและเป็นแบบที่ผู้ต้องการใช้นั้นนิยมใช้กัน  หรือบางครั้งลักษณะของเสื้อครามก็เกิดจากการนำผ้าครามมาตกแต่งในเสื้อยืดก็ได้
                                    
ผ้าถุง 
      มีลักษณะเป็นผืน  บางครั้งก็นิยมไปตัดเป็นกระโปรงหัวยางยืดเพื่อสะดวกในการใส่   โดยมีทั้งสั้นและยาวซึ่งแล้วแต่ผู้ที่ชอบ
                                                        
กางเกง      เป็นเครื่องนุ่งห่มที่มักได้รับความนิยมทั้งผู้หญิงและผู้ชาย  โดยลักษณะกางเกงนั้นขึ้นอยู่กับผู้ใส่
                                                      
ผ้าคลุมบ่า  มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ขนาดส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับคนผลิต
                                                  
เน็คไท   มีลักษณะเหมือนกับเน็คไททั่วไปแต่แตกต่างอยู่ที่ใช้ผ้าครามในการตัดเย็บ
หมวก  มีลักษะเป็นหมวกปีก ทำจากผ้าครามทั้งใบ  ใช้สวมใส่เพื่อความสวยงามหรือใช้สวมใส่เพื่อป้องกันแสงแดด , ลม


ชนิดของผลิตภัณฑ์


    เนื้อคราม               เนื้อคราม  เป็นผลผลิตที่ได้จากต้นครามโดยทั่วไปแล้วเนื้อครามจะมีลักษณะเป็นของแข็งผสมระหว่างปูนกับสีครามรูปออกซิไดส์  (Indigo  blue) สีน้ำเงินได้จากการตกตะกอนจากการกวนน้ำคราม
                                    
     ผ้าคราม
            ผ้าคราม  เป็นผลผลิตจากครามที่ได้จากการทอผ้าลักษณะของผ้าครามจะมีลักษณะเป็นผืนผ้า  โดยลายผ้าส่วนใหญ่มักจะได้จากการออกแบบของผู้ทอผ้า
                                  
ผลิตภัณฑ์การแปรรูปของผ้าคราม
           ผลิตภัณฑ์การแปรรูปของคราม  ส่วนใหญ่ผลิตภัณฑ์ของครามมักจะได้จากการนำผ้าครามมาผลิตและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์  เช่น  เสื้อคราม , ผ้าพันคอ , ผ้าคลุมไหล่ , กระเป๋า , ถุงดินสอ ,กล่องใส่กระดาษทิชชู  เป็นต้น 
                                        

วิธีการทอ



วิธีการมัดหมี่

        หลังจากลอกลายตามรอยฉลุแล้ว ใช้เชือกฟางมามัดให้แน่นเพื่อป้องกันสีซึมเข้าในข้อหมี่ หลังจากมัดเสร็จก็จะได้ลายที่พิมพ์มาจากคอมพิวเตอร์ทันที 
การมัดโอบหมี่
       การมัดโอบคือ การมัดหมี่ครั้งที่สองเพื่อเก็บสีลายจากการมัดครั้งที่หนึ่งไว้ หลังจากการมัด โอบเสร็จแล้วนำหัวหมี่มาย้อมเป็นครั้งที่ 2 เพื่อจะให้หมี่เป็นลายอีกสีหนึ่งขั้นตอนการย้อมโอบจะทำอยู่หลายครั้งเมื่อต้องการลวดลายหลากหลายสีขึ้นอยู่กับลายที่จะนำมามัดหรือสีสันที่ต้องการ
                     




การย้อมสี 

        หลังจากการกรองคราม (เก็บเนื้อครามไว้) เวลาจะใช้ต้องนำเนื้อครามที่เก็บไว้ออกมาผสมกับน้ำด่างที่แช่ไว้ ในปริมาณครามประมาณ 1 ขีด ผสมกับน้ำด่าง 1 ขัน ต่อ 1 หม้อ ในการย้อม 1 ครั้ง และ1 ครั้ง และสามารถเพิ่มส่วนผสมทุกครั้งที่จะย้อม ไม่ต้องเปลี่ยนหม้อหรือล้างหม้อครามโดยเติมในอัตราดังที่กล่าวมาคลิกเพื่อดูขั้นตอนการย้อมคราม
ขั้นตอนการปั่นหลอด หรือกรอหมี่
       1. แก้หมี่ที่มัดเป็นเปราะๆ ออกก่อน (การแก้หมี่ คือการแก้เชือกฟางที่มัดให้เป็นลวดลายต่างๆ ออกให้หมด )
       2.  นำปอยหมี่ที่แก้เสร็จขึงใส่กง แล้วดึงเงื่อนเส้นหมี่มาผูกติดกับหลอดที่อยู่เข็มไนใช้มือปั่นหลา หรือไนโดยการหมุนเวียนซ้ายไปตลอด
       3. เมื่อครบขีนของลายทันที แล้วปลดออกจากหลาหรือไนเก็บไว้เพื่อทอต่อไป
ขั้นตอนการสืบหูก
      1.  นำหมี่ที่ย้อมสีเสร็จแล้ว มากางเพื่อดึงให้เส้นหมี่ตึงเท่ากันจน
      2. นำหมี่ที่ตึงเท่ากันแล้วมาต่อใส่ฟืม โดยการผูกติดกับกกหูก(กกหูก คือ ปมผ้าเส้นหมี่เดิมที่ทอติดไว้กับฟืมโดยไม่ตัดออกเพื่อที่จะต่อเครือหูกไว้ทอครั้งต่อไป)
                    

  วิธีการกางหูก
     1. นำฟืมที่สืบเครือหูกแล้วไปกางใส่กี่ โดยดึงหมี่ตึงสม่ำเสมอทุกเส้น
     2.  หูกที่กางเสร็จแล้วจะต้องเรียงเส้นหมี่หลังฟืม โดยแยกเส้นหมี่ออกไม่ให้ติดกันความยาวประมาณ 1 เมตร
    3. นำไม้หลาวกลม 2 อัน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. มาสอดคั่นให้เส้นหมี่ของเครือหูกไขว้กันเป็นกากบาทอยู่หลังฟืม เพื่อให้เลื่อนฟืมไปข้างหน้าในวเลาทอได้สะดวก
                  


 ขั้นตอนในการทอผ้า

      1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
      2.  เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
     3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
     4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ให้พอเหมาะ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอ


1. หูก
        เครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าเกาะยอแต่เดิมใช้กี่มือหรือที่ชาวบ้านในภาคใต้เรียกว่า เก ” “ กี่
หรือ หูก ซึ่งพัฒนามาจากหลักการเบื้องต้นที่ต้องการให้มีการขัดลายกันระหว่างด้ายเส้นยืนกับด้าย
เส้นพุ่งเป็นจำนวนมากเพียงพอที่จะทำให้เกิดเป็นผืนผ้าขึ้นได้ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้า ปัจจุบันเรียกเครื่องมือที่ใช้ทอผ้าเกาะยอว่า "กี่กระตุก"
                                             

                                                                           รูป: หูก
2. ฟืม หรือฟันหวี มีลักษณะคล้ายหวี ยาวเท่ากับความกว้างของหน้าผ้าทำด้วยโลหะ มีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ มีกรอบทำด้วยไม้หรือโลหะ แต่ละซี่ของฟืมจะเป็นช่องสำหรับสอดด้ายยืน เข้าไป เป็นการจัดเรียงด้ายยืนให้ห่างกันตามความละเอียดของเนื้อผ้า เป็นส่วนที่ใช้กระทบให้เส้นด้ายที่ทอเรียงติดกันแน่นเป็นผืนผ้า ฟืมสมัยโบราณทำด้วยไม้
                                            

                                                                         รูป: ฟืม
3.กง   ใช้สำหรับใส่ไจหมี่
                                           

                                                                            รูป: กง
4.อัก  ใช้สำหรับกวักหมี่ออกจากกง
                                           

                                                                          รูป: อัก
5.หลักตีนกง ( ไม้ที่ใช้ยึดทั้งสองข้างในการกวักด้าย )
                                           

                                                                    รูป: หลักตีนกง
6. หลา  เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับปั่นหลอด  จากอักมาสู่โบกเพื่อทำเป็นทางต่ำ (เส้นพุ่ง)เข็นหรือปั่นหมี่ 2 เส้นรวมกัน เรียกว่า เข็นรังกัน เข็นควบกันหรือเข็นคุบกัน ถ้าเป็นหมี่คนละสี เข็นรวมกันแล้ว เรียกว่า มับไม ใช้แกว่งหมี่ ขั้นตอนนี้เป็นการเก็บปุ่มที่เรียกว่า ขี้หมี่ออกจากเส้นหมี่ และยังทำให้เส้นหมี่บิดตัวแน่นขึ้น ใช้ทำเป็นทางเครือ
                                          

                                                                        รูป:หลา
7.กระสวย    ใช้บรรจุหลอดหมี่พุ่งสอดไประหว่างช่องว่างของเส้นหมี่ยืน ต้นและปลายเรียวตรงกลางเจาะเป็นช่องสำหรับใส่หลอดด้าย
                                        

                                                                      รูป: กระสวย
8. หลอดใส่ด้าย  หลอดด้ายค้น (ลูกค้น) เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการค้นเส้นด้าย โดยเส้นด้ายทุกเส้นจะถูกม้วนหรือพันเก็บไว้ในหลอดค้น ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 8 นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ 1 นิ้ว จำนวน 152 หลอด หลอดค้นทำจากไม้ไผ่
                                        

                                                                    รูป: หลอดใส่ด้าย
9.หลักเฝีย   ใช้ในการค้นฝ้าย
                                       

                                                                          รูป: หลักเฝี่ย
10.ใน  ใช้ปั่นเส้นหมี่ใส่หลอดปั่นด้าย
                                       






ขั้นตอนการย้อม




        การย้อมคราม  คือ  การนำเส้นใยมาย้อมกับน้ำย้อมครามที่ pH  ที่เหมาะสม

ขั้นตอนการย้อม

    1.  ทำการโจกครามเพื่อดูลักษณะของน้ำย้อมครามที่เตรียมไว้

                             


                                                               รูป: การโจกคราม


 2.  นำเส้นใยที่ผ่านการทำความสะอาดแล้วมาเตรียมไว้  โดยมีการจับเป็นวง
                             

                                                          รูป: การย้อมคราม

3.  ทำการย้อมเส้นใยในน้ำครามโดยมีการคลายเส้นใยและหมุนไปรอบๆ
4.  เมื่อย้อมเสร็จแล้วควรบิดเส้นใยให้หมาด  แล้วนำเส้นใยขึ้นจากหม้อย้อม
                            
       
                                                             รูป:การย้อมคราม

 ระยะเวลาในการแช่เส้นใยกับน้ำย้อมคราม

         การแช่เส้นใยไว้ในหม้อย้อม  ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที หรือสังเกตสีของน้ำย้อมจะใสขึ้น สีเหลืองจางลง สีเขียวเข็มขึ้น จึงหยุดย้อม
 
การกระตุกเส้นใยหลังย้อม

       การกระตุกเส้นใยหลังย้อมนั้นเพื่อเป็นการทำให้เส้นใยทุกเส้นที่ผ่านการย้อมแล้ว  ได้สัมผัสกับแก๊สออกซิเจนเพื่อจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำเงินเข้ม

การย้อมครามซ้ำ

       คือ  การนำเส้นใยที่ผ่านการย้อมแล้ว มาย้อมซ้ำเพื่อให้ได้เส้นใยที่มีสีเข้มขึ้นตาม
ต้องการ  โดยการย้อมซ้ำต้องดูน้ำย้อมเพื่อให้อยู่ในภาวะที่พร้อมจะย้อมด้วย  เมื่อผ่านการย้อมจนได้สีที่ต้องการ ห่อด้วยถุงพลาสติกคลุมไว้ นาน  4-5  ชั่วโมง
การล้างเส้นใยหลังย้อม
     การล้างเส้นใย   นำเส้นใยที่ได้จากการย้อมนั้นมาล้างในน้ำให้สะอาด  โดยการซักเส้นใยจนหมดสีครามที่น้ำล้างเส้นใย  เมื่อล้างเส้นใยเสร็จแล้วก็นำไปตากให้เส้นใยแห้ง

การตากเส้นใยหลังย้อม

       การตากในร่ม  การตากเส้นใยครามหลังการย้อมในที่ร่มจะช่วยให้เส้นใยแห้งเสมอกัน  และสีของเส้นใยยังคงจะสดอยู่
       การตากในแดด  การตากเส้นครามหลังย้อมในที่แดดส่องถึง  จะทำให้เส้นใยแห้งเร็วและลักษณะสีของเส้นใยจะเกิดรอยด่างที่เส้นใย
                                              

                                                        รูป: การตากเส้นใยหลังการย้อม 

การเก็บเส้นใยหลังย้อม

      เมื่อได้เส้นใยที่พร้อมจะนำไปทอแล้ว  ควรเก็บในที่ร่ม

อุปกรณ์ที่ใช้



1.  หม้อดิน   ใช้ในการแช่ครามและการย้อมคราม  เลือกใช้โอ่งดินขนาดจุ 30 ลิตร  เหตุที่เลือกหม้อดิน เนื่องจากน้ำย้อมที่เย็นกว่าจะติดสีได้ดีกว่า ในฤดูร้อนอุณหภูมิสูง การซึมของน้ำจากโอ่งดินจะทำให้น้ำย้อมเย็นกว่าบรรยากาศ หม้อครามจะดี รักษาสีย้อมไว้ได้นาน

2.  เส้นฝ้าย   เป็นฝ้ายที่ได้จากพืชที่เติบโตได้ดีในดินเกือบทุกชนิด   ตั้งแต่ดินทรายจนถึงดินเหนียวหรือดินที่มีความเป็นกรด-ด่าง ปานกลาง  แต่ฝ้ายต้องการความชื้นในดินสูง โดยเฉพาะช่วงที่ออกดอกเป็นสมอ  ดังนั้นดินที่อุ้มน้ำได้ดีจึงเหมาะสมมากกว่า  นอกจากนี้ฝ้ายยังต้องการแสงแดดจัด  ต้องการอุณหภูมิประมาณ  25 องศาเซลเซียส นานกว่า 150 วัน แหล่งปลูกฝ้ายจึงอยู่ในเขตร้อน ฝ้ายให้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น เส้นใยของเมล็ดทำเครื่องนุ่งห่ม น้ำมันจากเมล็ดฝ้ายใช้บริโภคได้ ส่วนกากเมล็ดเป็นแหล่งโปรตีนในอาหารสัตว์ที่มีกระเพาะหมัก เช่น วัว  ควาย

3.  ถังมีฝาปิด   เพื่อแช่คราม  เพราะน้ำหนักเบา สะดวกในการรินแยกของเหลวออกจากตะกอนคราม และแช่ได้น้ำครามปริมาณพอเหมาะกับกำลังการกวนคราม

4. ขัน  เพื่อช่วยในการโจกครามและตักน้ำคราม

5.ส้อมกวนคราม  คือ อุปกรณ์ไม้ไผ่สารด้านหนึ่งของปลายไม้ไผ่จะถูกสานคล้ายกรวยโดยจะใช้สำหรับตีน้ำครามขณะที่เติมปูนขาว ในการทำเนื้อคราม


6. ตะแกรงกรองคราม  คือ ตะแกรงลวดที่ใช้ร่อนแป้ง  หรือตะแกรงที่มีรูขนาดใหญ่กว่าที่กรองแป้ง ใช้สำหรับกรองระหว่างน้ำแช่ครามแยกออกจากกากคราม

 การเตรียมฝ้าย
การเตรียมเส้นใยก่อนย้อม
  ลักษณะของเส้นใย
         ควรเลือกเส้นใยที่เป็นเส้นใยเซลลูโลส  ยิ่งเป็นเส้นใยเซลลูโลสที่บริสุทธิ์ที่ได้จากธรรมชาติโดยตรง  ยิ่งทำให้ติดสีครามได้ง่าย

 การเลือกชนิดของเส้นใย

      1 ฝ้ายเข็น   เป็นเส้นใยธรรมชาติ  ที่ได้จากการผลิตเส้นใยจากปุยฝ้ายด้วย
อุป
กรณ์ง่ายๆทำด้วยมือ  ทำให้ได้เส้นใย
      ข้อดี  เป็นเส้นฝ้ายที่หนา , ทน , ไม่ยับง่าย , ซับน้ำได้ดี ,ระบายอากาศได้ดี , ยิ่งซักยิ่งนุ่ม , สวมใส่สบายตัว , ดูแลง่าย , เป็นที่ต้องการตลาดญี่ปุ่นและยุโรป
     ข้อเสีย  เป็นฝ้ายที่หาพื้นที่ปลูกยาก , แมลงรบกวนมาก , คนทำฝ้ายเข็นหายาก
     2. ฝ้ายซีกวง (เรยอง)  เป็นเส้นใยเซลลูโลสชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยโรงงาน
อุตสาหกรรม 
      ข้อดี  เป็นเส้นใยที่เนื้อนิ่ม , เบา , บาง , พลิ้ว , ระบายอากาศได้ดี , ซับน้ำได้ดี , เป็นที่ต้องการของตลาดในประเทศ
      ข้อเสีย  เส้นใยนี้ยับง่าย , ความทนน้อยกว่า
การล้างเส้นใย
         คือ  การนำเส้นใยที่เราต้องการย้อมนั้นมาทำความสะอาด  โดยเส้นใยที่เราต้องการ
ย้อมครามนั้นอาจเป็นเส้นใยที่ไม่มีการมัดลายหรือมีการมัดลายก็ได้  การล้างเส้นใยทำได้โดยใช้น้ำเปล่าล้างและทุบเส้นใยด้วยไม้  เพื่อให้สิ่งที่ติดเส้นฝ้ายหลุดออก  เช่น  สารประเภทแป้งหรือสารที่ใช้ฟอกเส้นใย  เมื่อล้างเสร็จแล้วควรบิดเส้นใยให้หมาดๆ  ก่อนนำไปย้อมคราม 

วัสดุที่ใช้



1.  เนื้อคราม  หมายถึง ของแข็งผสมระหว่างปูนกับสีครามในรูปออกซิไดส์ (Indigo blue)  สีน้ำเงินได้จากการตกตะกอนจากการกวนน้ำคราม


                           รูป: เนื้อคราม

2.  น้ำขี้เถ้า  หมายถึง สารละลายจากขี้เถ้า  เตรียมจากภาชนะเจาะรูด้านล่างและรองด้วยใยวัสดุเพื่อกรองขี้เถ้า  บรรจุขี้เถ้าชื้นให้เต็มภาชนะแล้วกดขี้เถ้าให้แน่น  เติมน้ำให้เต็มภาชนะและรองเอาน้ำขี้เถ้าครั้งที่ เติมน้ำอีกเท่าเดิมแล้วกรอง  รวมน้ำขี้เถ้าทั้ง  2  ครั้ง


                               รูป: น้ำขี้เถ้า
3.  ปูนขาว  หมายถึง สารเคมีที่ได้จากการเผาหินปูนจนสุก  ทิ้งให้เย็น  โดยทั่วไปใช้กินกับหมากและแช่ผลไม้  เพื่อดองและแช่อิ่ม



การเก็บเกี่ยว

         การเตรียมความพร้อมก่อนเก็บเกี่ยว ก่อนการเก็บครามทุกครั้ง ผู้เก็บครามต้องสวมเสื้อผ้ามิดชิด เพราะใบครามมีขนขนาดเล็กๆ ที่มองไม่เห็นผ้าสัมผัสกับผิวหนังจะทำให้ระคายเคืองและคันตามร่างกาย
         ช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยว นิยมเก็บครามในเวลาเช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เนื่องจากจะทำให้ได้ปริมาณน้ำครามมาก หากเก็บในเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นแล้วจะทำให้ครามที่เก็บเหี่ยวส่งผลให้ได้ปริมาณน้ำครามน้อย
         การเก็บคราม ถ้าเป็นครามบ้านก็จะเกี่ยวทั้งต้นเหลือแต่ตอ เพื่อจะทำให้ครามแตกกิ่งและแก่พร้อมที่จะตัดในครั้งต่อไป ต้นครามจะเก็บได้ปีละ 2 ครั้ง ถ้าเป็นครามงอ ก็จะเก็บใบแก่จัดก่อนหรือเกี่ยวทั้งกิ่ง จากนั้นก็ปล่อยให้แตกกิ่งอีก และสามารถเก็บได้ทั้งปี
     การเก็บเมล็ดพันธ์

        




วิธีเก็บเมล็ด การเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์จะปล่อยให้ต้นแก่จนออกดอกติดฝัก เมื่อฝักแก่จะเก็บเกี่ยวฝักแล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิท เก็บทั้งฝักไว้สำหรับปลูก- ขยายพันธุ์ในปีถัดไปเมื่อจะปลูกจึงกะเทาะเมล็ดออกจากฝักใช้เมล็ดพันธุ์ไปหว่านในแป วิธีการสังเกต ว่าต้นครามพร้อมที่จะเก็บเกี่ยวคือ ส่วนยอดจะผลิดอกออกฝักใบเป็นสีเขียวเข้ม ให้สังเกตหยดน้ำค้างที่เกาะใต้ใบครามจะมีสีอมน้ำเงินแสดงว่าต้นครามพร้อมที่จะเก็บเกี่ยว

การดูแล



     การดูแลเมื่อครามงอก  เมื่อต้นครามงอกแล้วประมาณความสูงของต้นไม่เกิน 10 เซนติเมตร หากเราเห็นว่าต้นครามที่งอกนั้นมีระยะระหว่างต้นใกล้กันมากเกินไปก็ให้ถอนทิ้งบ้างเพื่อให้มีระยะห่างของต้นพอสมควรต้นครามจะได้แตกกิ่งก้านได้ดี
      การใส่ปุ๋ย เมื่อต้นครามโตได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ให้สังเกตการณ์เจริญเติบโตหากเห็นว่า  ต้นครามโตช้าก็ควรใส่ปุ๋ย อาจเป็นปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยเคมีก็ได้
      การรดน้ำ  ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน นับตั้งแต่เริ่มหว่านเมล็ด หากเราใส่ปุ๋ยให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ต้นครามมีใบขนาดใหญ่ สีเข้ม จนกระทั่งมีอายุได้ 3-4 เดือน ก็ทำการเก็บได

การปลูก







   
การปลูก
       การเลือกพื้นที่  พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกครามควรเป็นบริเวณที่มีแสงแดดเพียงพอ น้ำไม่ท่วมขัง เช่นที่ดอน ส่วนมากจะเป็น ตามหัวไร่ปลายนาซึ่งชาวบ้านนิยมปลูกครามมากที่สุด แต่ในปัจจุบันการผลิตครามเป็นการค้าแล้ว ชาวบ้านก็นิยมปลูกในที่นาบ้างเป็นบางส่วนซึ่งสามารถพบเห็นได้มากขึ้น
        การเตรียมดิน  การเตรียมดินดังนี้
              1. ไถกลบเพื่อให้วัชพืชกลายเป็นปุ๋ยพืชสดในดิน ตากดินไว้สักระยะเหมือนการ
ปลูกพืชไร่ทั่วไป
              2.  ขุดและย่อยดินแล้วคราดให้หน้าดินเรียบเสมอกัน
              3. หว่านเมล็ดครามทีเตรียมไว้ให้กระจายตัวสม่ำเสมอกันทั่วๆแปลง ทำเช่นเดียวกับ
การหว่านเมล็ดข้าวในนา
            การเตรียมเมล็ดก่อนนำไปปลูก  ก่อนการนำเมล็ดครามไปปลูก ควรนำฝักครามที่ได้เก็บไว้แล้วมาตำให้เปลือกแตก จากนั้นก็ร่อนเอาแต่ส่วนที่เป็นเมล็ดมาหว่าน หากไม่นำฝักครามมาตำเอาแต่เมล็ดแล้ว การที่หว่านเป็นฝักเลย ครามจะไม่งอก
            การปลูกคราม  การปลูก จะปลูกกัน 2 ช่วง คือ ในฤดูฝนและฤดูแล้ง
 การปลูกในฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน(ถ้าปลายเดือนมีนาคม
มีฝนตกชุกก็หว่านเมล็ดได้) เมื่อเตรียมดินแล้ว ก็จะปลูกครามโดยการหว่านเมล็ดครามที่ได้
เตรียมไว้ แต่ปัจจุบันเมล็ดครามจะหายาก ควรใช้วิธีเพาะเมล็ดในถุง เมื่องอกเป็นต้นกล้ามีใบ
จริง 5 ใบขึ้นไป จึงนำมาปลูกในแปลงที่เตรียมไว้แล้ว
  การปลูกในฤดูแล้ง จะหว่านเมล็ดครามในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ถึงต้น
เดือนธันวาคม เมื่อต้นครามงอกขึ้นมาจะปล่อยให้เจริญเติบโตประมาณ 4 - 5 เดือนขึ้นไป
ก็สามารถนำต้นครามไปใช้ได้
          ขั้นตอนการปลูก
  1. ก่อนการหว่านเมล็ดทุกครั้งควรทำให้ดินชุ่มน้ำก่อน หากวันที่เราปลูกฝนไม่ตกก็ควรรดน้ำก่อนหว่านเมล็ดครามลงไปแต่หากฝนตกก็ให้หว่านเมล็ดครามลงแปลงเลย
  2. การหว่านเมล็ดคราม ควรหว่านให้ระยะห่างพอสมควร
  3. หลังจากหว่านเมล็ดเสร็จแล้วให้หมั่นรดน้ำทุกวันจนกว่าต้นครามจะงอก

แหล่งกำเนิดของสีคราม


              สีน้ำเงินของครามเป็นสีย้อมจากธรรมชาติที่มีประวัติยาวนานกว่า 1000 ปี ได้รับสมญานามว่าเป็นเจ้าแห่งสีย้อม “ the king of dyes” ในสมัยโบราณกษัตริย์เท่านั้นที่มีสิทธิ์ใส่ผ้าย้อมคราม ( อนุรัตน์  สายทอง 2543:7 ) ในศตวรรษที่ 8 มีการนำต้นครามจากทางใต้ของจีนเข้ามาเพาะปลูกในญี่ปุ่น  มีการเพาะปลูกกันอย่างแพร่หลาย  จนกลายเป็นวัตถุดิบในการทำสีย้อมผ้าที่สามารถหาได้ง่ายและมีการทำสีย้อมจากต้นครามในหมู่บ้านชนบทของญี่ปุ่นอย่างแพร่หลาย  ในศตวรรษที่ 16 มีการปลูกครามอย่างมากในอินเดีย  เอเชียใต้  อเมริกากลางและอเมริกาใต้  ส่งเป็นสินค้าออกไปยังยุโรปจนกระทั่งมีการสังเคราะห์สีครามในปี 1897

               การใช้สีครามจากต้นครามจึงลดลงเหลือเพียง 4% ของทั่วโลก  ในปี 1914 แต่ต้นครามยังปลูกกระจายอยู่เล็กน้อยในอินเดีย  แอฟริกา และอเมริกากลาง และยังมีอยู่มากในชนบทของชวา  สำหรับเอเชียมีหลักฐาน และร่องรอยการทำสีครามอยู่ทุกประเทศ เช่น ไทย ลาว พม่า ญี่ปุ่น และอินเดีย ฯลฯ ในประเทศไทยมีการทำสีครามในภาคเหนือและภาคอีสานมาตั้งแต่บรรพบุรุษ  ดังหลักฐานการกล่าวถึงเผ่าต่างๆ เช่นผู้ไทยขาว  ผู้ไทยดำ  และผู้ไทยแดง ตั้งชื่อตามสีของเสื้อผ้าที่นุ่ง  ปัจจุบันยังมีบุคคลบางกลุ่มสืบทอดวิธีการทำสีคราม เช่น  ที่บ้านนาดี  อำเภอพรรณานิคม  จังหวัดสกลนคร  กลุ่มอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทญ้อ วัดพระธาตุประสิทธิ์ บ้านนาหว้า  อำเภอนาหว้า  จังหวัดนครพนม ( อนุรัตน์  สายทอง 2543 : 7 ) ที่บ้านไร่ไผ่งาม อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่  บางหมู่บ้านในจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดสุรินทร์ในหลายๆอำเภอ  ( สำนักงานหอรัษฎากรพิพัฒน์ 2537:103 )
              ในโบราณเป็นที่รู้กันว่า  ต้นครามเป็นวัตถุที่ให้สีสำคัญชนิดหนึ่ง  เป็นใบไม้อย่างหนึ่งที่มีกันอย่างกว้างขวางเป็นพืชกลุ่มจำพวกถั่ว  ซึ่งมีสารพิเศษในการให้น้ำเงินจากสาร อินดิแคน  เมื่อพุทธศตวรรษ 3000 มีการค้นพบว่าในธิเบตมีการใช้สีคราม  สำหรับเป็นสีย้อมเสื้อผ้าสตรี  ในอดีตยังถือว่าต้นครามและเปลือกไม้เป็นวัตถุที่ให้สีที่มีความสำคัญมาก  จนกระทั่งศตวรรษที่ 19 ก็ได้มีการทำสีย้อมผ้าสังเคราะห์และสีครามสังเคราะห์ขึ้นมา  มีการจำหน่ายแทนสีย้อมธรรมชาติ  โดยที่สีครามธรรมชาติไม่สามารถแข่งขันได้เลย  จึงนำไปสู่จุดจบของการผลิตสีครามธรรมชาติ  โดยมีความร่ำรวยเป็นพื้นฐานของโลกแห่งการค้าขายยเข้ามาเป็นตัวดึงดูด






ประวัติความเป็นมาของคราม


                ครามมีต้นกำเนิดในแอฟริกา จีน อินเดีย และ ออสเตรเลีย ถูกนำเข้าไปในชวาเมื่อ
ปี 1923 เพื่อปลูกเป็นพืชคลุมดินตามเชิงเขาในไร่ชา ยาง และปาล์มน้ำมัน ขยายเข้าไปในฟิลิปปินส์ในปี 1927 เพื่อปลูกให้สูงประมาณ 35 เซนติเมตร แล้วตัดเป็นหญ้าแห้งรวมกับหญ้าอื่น ๆ ที่ขึ้นปนกันใช้เป็นอาหารสัตว์ การที่ครามเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้จาไมกานำครามไปปลูกแซมในสวนผลไม้เพื่อกำจัดวัชพืช และตัดครามเป็นปุ๋ยพืชสด (บุญญา อนุสรณ์รัชดา 2540 : 4)
            สำหรับในประเทศไทย คาดว่าครามอาจเป็นพืชดั้งเดิมบนที่ราบสูงภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้เพราะชนกลุ่มน้อย ในพื้นที่ดังกล่าวมีวัฒนธรรมด้านเครื่องนุ่งห่มใช้สีดำหรือสีน้ำเงินเป็นหลัก เช่น จังหวัดสกลนครประกอบด้วยเผ่าต่าง ๆ ได้แก่ ไทญ้อ ไทโย้ย ภูไท ไทกะเลิง ไทโซ่ ไทข่า และไทลาว ทุกเผ่าจะมีเสื้อผ้าสีดำหรือน้ำเงินเป็นพื้น แตกต่างกันในรายละเอียดอื่นๆเท่านั้น อีกทางหนึ่งอาจมาจากจีนตามวัฒนธรรมการทอผ้า (ผู้วิจัย)

พืชที่ให้สีคราม



               ครามดอย


    วงศ์: LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
Indigofera cassioides Rottl.ex DC.
 ชื่อสามัญ : เสียดเครือ (เลย) ; ครามดอย(ภาคเหนือ)

        ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร   เป็นไม้พุ่ม (shrub) อายุหลายปี ต้นสูง 3-4 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 19.21-40.03 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd-pinnate) ใบเรียงตรงข้ามกัน (opposite) บางกิ่งใบเรียงแบบสลับ (alternate) รูปร่างใบย่อยแบบรูปไข่ (oval) ใบยาว 1.76-2.14 เซนติเมตร กว้าง 0.85-1.22 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 12.45-16.29 เซนติเมตร หน้าใบ หลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมจำนวนมาก ก้านใบมีขนคลุมปานกลาง ใบสีเขียวอ่อน ผิวใบค่อนข้างหยาบเล็กน้อย เส้นใบ (vein) ปลายโค้งจรดกัน (anastomosing) ขอบใบสีเหลือง เรียบ (entire) ปลายใบ (apex) มีติ่งเป็นเส้นยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร หูใบ (stipnle) แบบหนาม (spinous) สีเขียวอมน้ำตาล ลำต้นสีเขียวปนสีน้ำตาล ไม่มีขนคลุม ออกดอกเดือน สิงหาคม เมษายน ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ชูขึ้น ช่อดอกออกที่ปลายยอดและตาข้าง มีดอกพร้อมกันเต็มลำต้น ช่อดอกยาว 7.69-11.65 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่วมี 12-30 ดอกต่อช่อ กลีบดอกกลาง (standard) สีชมพูสดอมม่วงอ่อนด้านในมีแถบสีขาวตรงกลาง กลีบคู่ข้าง (wing) สีชมพูเข้มกว่า กลีบคู่ล่าง (keel) สีชมพูมีแถบขาวตรงกลาง ก้านเกสรตัวเมีย (stigma) สีเขียวตองอ่อน อับเรณู (anther) สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียวตองอ่อน ฝักขนาดเล็กรูปกลม ปลายยอดมีติ่งเป็นเส้น สั้น ๆ ขนาดฝักยาว 2.48-3.62 เซนติเมตร กว้าง 0.23-0.31 เซนติเมตร มี 19-30 ฝักต่อช่อ ฝักแก่ไม่แตก
แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่พื้นที่ป่าโปร่งเต็ง รัง ป่าละเมาะ ดินร่วนทราย เช่น เขตตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (PC 195)
            คุณค่าทางอาหาร   ส่วนใบรวมก้านใบย่อยมีค่าโปรตีน 12.78เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.91 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 14.22 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรท (NFE) 46.31 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 34.21 เปอร์เซ็นต์ NDF 43.47 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลส 9.26 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 10.33 เปอร์เซ็นต์
            การใช้ประโยชน์   เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ


 ครามเครือ


    
วงศ์ LEGUMINOSAE - PAPILIONOIDEAE
Indigofera hendecaphylla Jacq.
ชื่อสามัญ   ครามเครือ (เชียงใหม่) ; จ๊าผักชี (เชียงใหม่) ; โสนนก
(นครสวรรค์)



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร   เป็นไม้พุ่ม (shrub) อายุหลายปี ต้นสูง 3-4 เมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น
19.21-40.03 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd-pinnate) ใบเรียงตรงข้ามกัน (opposite)
บางกิ่งใบเรียงแบบสลับ (alternate) รูปร่างใบย่อยแบบรูปไข่ (oval) ใบยาว 1.76-2.14 เซนติเมตร กว้าง 0.85-1.22 เซนติเมตร
 ก้านใบรวมยาว 12.45-16.29 เซนติเมตร หน้าใบ หลังใบมีขนละเอียดสั้น ๆ ปกคลุมจำนวนมาก ก้านใบมีขนคลุมปานกลาง
 ใบสีเขียวอ่อน ผิวใบค่อนข้างหยาบเล็กน้อย เส้นใบ (vein) ปลายโค้งจรดกัน (anastomosing) ขอบใบสีเหลือง เรียบ (entire)
ปลายใบ (apex) มีติ่งเป็นเส้นยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร หูใบ (stipnle) แบบหนาม (spinous) สีเขียวอมน้ำตาล ลำต้นสีเขียวปน
สีน้ำตาล ไม่มีขนคลุม ออกดอกเดือน สิงหาคม เมษายน ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ชูขึ้น ช่อดอกออกที่ปลายยอดและ
ตาข้าง มีดอกพร้อมกันเต็มลำต้น ช่อดอกยาว 7.69-11.65 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่วมี 12-30 ดอกต่อช่อ กลีบดอกกลาง
 (standard) สีชมพูสดอมม่วงอ่อนด้านในมีแถบสีขาวตรงกลาง กลีบคู่ข้าง (wing) สีชมพูเข้มกว่า กลีบคู่ล่าง (keel)
สีชมพูมีแถบขาวตรงกลาง ก้านเกสรตัวเมีย (stigma) สีเขียวตองอ่อน อับเรณู (anther) สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียวตองอ่อน
 ฝักขนาดเล็กรูปกลม ปลายยอดมีติ่งเป็นเส้น สั้น ๆ ขนาดฝักยาว 2.48-3.62 เซนติเมตร กว้าง 0.23-0.31 เซนติเมตร มี 19-30 ฝัก
ต่อช่อ ฝักแก่ไม่แตก แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์ พบขึ้นอยู่พื้นที่ป่าโปร่งเต็ง รัง ป่าละเมาะ ดินร่วนทราย เช่น
 เขตตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (PC 195)
         คุณค่าทางอาหาร   ส่วนใบรวมก้านใบย่อยมีค่าโปรตีน 12.78เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 1.91 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 14.22 เปอร์เซ็นต์
คาร์โบไฮเดรท (NFE) 46.31 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 34.21 เปอร์เซ็นต์ NDF 43.47 เปอร์เซ็นต์ เฮมิเซลลูโลส 9.26
เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 10.33 เปอร์เซ็นต์
        การใช้ประโยชน์   เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับแทะเล็มของโค-กระบือ





 ครามใหญ่



                       


     
วงศ์ PAPILIONOIDEAE
 Indigofera suffruticosa Mill.
    ชื่อสามัญ ครามผี , ครามเถื่อน ( เชียงใหม่ ); ครามใหญ่ ( อุบลราชธานี )
    ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก (shrub) อายุหลายปี
ต้นสูง 129.81- 192.19 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 18.02- 26.04 มิลลิเมตร 
  ลักษณะใบ
           ใบ  เป็นประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd pinnately) ใบเรียงตรงข้ามกัน (opposite) รูปร่างใบย่อยแบบรูปรี (elliptic)
 โคนใบรีกลม ปลายใบแหลมติ่ง (cuspidate) ใบยาว 1.9- 2.7 เซนติเมตร กว้าง 0.75- 0.95 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว
0.67- 0.83 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 6.74- 8.96 เซนติเมตร หน้าใบมีขนสีขาวสั้นๆยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตรปกคลุมปา
นกลาง หลังใบมีขนสีขาวยาวประมาณ 1 มิลลิเมตรปกคลุมอยู่หนาแน่น ใบสีเขียวเข้ม ผิวใบค่อนข้างนุ่ม เส้นกลางใบ
 (mid rib) ด้านหน้าเป็นร่องจากโคนใบถึงปลายใบเห็นชัดเจน เส้นใบ (vein) ไม่ชัดเจน ขอบใบหยักแบบขนครุย (ciliate)
 มีขนสีขาวสั้นๆ
ลักษณะดอก
              ดอก จะออกช่วงเดือนพฤษภาคม ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ออกที่ตาข้างจำนวนมาก ช่อดอกยาว 3.75- 10.49
 เซนติเมตร ดอกเดี่ยวรูปดอกถั่ว สีชมพู ดอกตูมมีสีเขียวอ่อนอมครีม เมื่อดอกเริ่มบานจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงอมชมพูขาวแต่ละ
ดอกประกอบด้วยกลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ก้านดอกสั้นประมาณ 1 มิลลิเมตรมี 14-36 ดอกต่อช่อ
 ผล หรือ ฝัก อยู่รวมกันเป็นช่อฝักรูปกลมโค้งงอคล้ายรูปเคียวมีรอยคอดระหว่างข้อตื้นๆปลายยอดฝักชี้ลง มี 12-34 ฝักต่อช่อ
 ฝักยาว 0.18- 1.52เซนติเมตร กว้าง 0.19- 0.29 เซนติเมตร
 ลักษณะลำต้น มีสีน้ำตาลอมม่วงมีขนสีขาวคลุมบางๆประกอบด้วยข้อและปล้องมีตาและตาดอกเกิดขึ้นบบริเวณข้อ
ลำต้นแล้วเกิดเป็นช่อดอกในภายหลัง    
  ราก ระบบรากเป็นระบบรากแก้ว
เมล็ด มีขนาดเล็กสีครีมอมเหลืองและสีน้ำตาล
มีน้ำหนักเฉลี่ย 3.35 - 16.14 กรัมต่อ 1,000 เมล็ด
ขยายพันธุ์ โดยใช้เมล็ด
       แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์   พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่โล่ง ดินร่วนปนเหนียว พื้นที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้ง
แต่ 35 เมตร เช่นเขตตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช (SN 198)
      คุณค่าทางอาหาร  เฉพาะส่วนใบ มีค่า โปรตีน 25.69 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน
ADF 27.73 เปอร์เซ็นต์ NDF 35.21 เปอร์เซ็นต์ แคลเซียม 2.26 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.35 เปอร์เซ็นต์ โปแตสเซียม 2.25 เปอร์เซ็นต์ แทนนิน 0.38 เปอร์เซ็นต์
      การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค
กระบือ แพะ และสัตว์ป่า สรรพคุณ ใบ รสเย็นฝาดเบื่อ ดับพิษ แก้ไข้ตัวร้อน เปลือกต้น รสเย็นฝาดเบื่อ แก้พิษฝี แก้พิษงู ฆ่าพยาธิ แก้โลหิต น้ำมันจากเมล็ด ทาแก้หิด สารสำคัญใบ มี rutin และ rutinoid ประมาณ 0.65-0.80 เปอร์เซ็นต์ มีไนโตรเจนสูง เหมาะใช้ทำปุ๋ย ทำยาฆ่าแมลง ( วงศ์สถิตย์และคณะ , 2543)
 
ชะคราม
  

    วงศ์ PAPILIONOIDEAE
Indigofera galegoides DC.
   ชื่อสามัญ ชะคราม ( ภาคกลาง ); ช้าคราม ( สุโขทัย ); ส่ามะขามเครือ( จันทบุรี)



          ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก อายุหลายปี ต้นสูง 145.87- 174.63 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 1.2- 1.6 มิลลิเมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ (odd pinnate) ใบเรียงตรงข้ามกัน รูปร่างใบย่อยแบบรูปรี โคนใบโค้งมน ปลายใบแบบติ่งหนามสั้น (mucronulate) ใบยาว 1.57- 2.05 เซนติเมตร กว้าง 0.6- 0.88 เซนติเมตร ก้านใบรวมยาว 2.46- 4.44 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร หน้าใบมีขนละเอียดสีขาวสั้นๆแนบติดกับแผ่นใบหนาแน่น หลังใบมีขนคลุมน้อยกว่าหน้าใบ ก้านใบมีขนปกคลุมหนาแน่น แผ่นใบด้านหลังนูนโค้งเล็กน้อย ใบสีเขียวนวล ผิวใบหยาบเล็กน้อย เส้นกลางใบด้านหลังเป็นสันนูนขึ้นยาวจากโคนถึงปลายใบ เส้นใบ (vein) แตกแบบขนนก(pinnate) ขอบใบหยักแบบขนครุย (ciliate) มีขนสีขาว หูใบ (stipule) รูปหนาม (spinous) ยาว 5- 8 มิลลิเมตร ลำต้นค่อนข้างเหนียว ผิวลำต้นด้านในสีเขียว ด้านนอกสีน้ำตาลแดง มีขนละเอียดสั้นๆขึ้นคลุมหนาแน่น ออกดอกเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม ช่อดอกแบบช่อกระจะ (raceme) ออกที่ปลายยอดและตาข้าง ช่อดอกยาว 2.3- 7.4 เซนติเมตร ดอกเดี่ยวรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีชมพูอมม่วง มีก้านดอกยาว 2- 3 มิลลิเมตร มี 8-16 ดอกต่อช่อ ฝักรูปฝักถั่ว แบน มีขนคลุมหนาแน่น ปลายยอดมีติ่งหนามยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ฝักยาว 3.29- 3.83 เซนติเมตร กว้าง 0.36- 0.54 เซนติเมตร มี 2-16 ฝักต่อช่อ มีรอยคอดแบ่งข้อตื้นๆ ฝักแก่แตกเป็นสองซีก เมล็ดแก่สีน้ำตาล รูปกลม แบน กว้างประมาณ 2 มิลลิเมตร
      แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์   พบขึ้นอยู่ทั่วไปในพื้นที่โล่ง ริมชายป่าละเมาะ ดินเหนียว เช่นเขตพื้นที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา ( PC 003 )
     คุณค่าทางอาหาร  ส่วนใบรวมก้านใบ มีค่า โปรตีน 15.41 เปอร์เซ็นต์เยื่อใย 28.89 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2.35 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 6.48 เปอร์เซ็นต์ คาร์โบไฮเดรท (NFE) 46.87 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วน ADF 35.1 เปอร์เซ็นต์ NDF 48.87 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 7.44 เปอร์เซ็นต์
     การใช้ประโยชน์ เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติสำหรับแทะเล็มของโค กระบือ ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ทั้งต้น ต้มน้ำดื่ม แก้โรคเมื่อย หรือทำสีย้อมผ้า ( จิรายุพินและคณะ , 2542 )



หิ่งเม่น

                          



         ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร   เป็นพืชล้มลุก (annual) ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งย่อย ต้นสูง 98.74-125.48 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น 9.06-17.4 มิลลิเมตร การเรียงตัวของใบประกอบแบบเรียงสลับ มีใบย่อย 3 ใบ (trifoliate-pinnately) รูปร่างใบย่อยแบบรูปไข่กลับ (obonate) โคนใบสอบ ปลายใบโค้งเว้าบุ๋ม (retuse) ปลายยอด (apex) มีติ่งเป็นเส้นสั้น ๆ หน้าใบไม่มีขน หลังใบมีขนสีขาวปกคลุมหนาแน่น สีใบเขียวเข้ม ด้านหลังใบสีเขียวอ่อนกว่าหน้าใบ ผิวใบค่อนข้างนุ่ม เส้นใบ (vein) ปลายโค้งจรดกัน (anastomosing) ขอบใบหยักแบบขนครุย (ciliate) หูใบแหลม (filiform) เล็กสั้นสีม่วงแดง ก้านใบรวมยาว 3.88-4.54 เซนติเมตร ก้านใบข้างยาว 2-2.5 มิลลิเมตร ก้านใบมีขนละเอียดคลุมหนาแน่น ลำต้นสีเขียว มีสีน้ำตาลอ่อน ๆ ด้านที่รับแสงและมีขนละเอียดคลุมอย่างหนาแน่น ออกดอกเดือน เมษายน-ธันวาคม ดอกออกที่ปลายยอดแบบช่อกระจะ (raceme) ชูขึ้น ช่อดอกยาว 12.23-19.21 เซนติเมตร ดอกรูปดอกถั่วมี 27-44 ดอกต่อช่อ ดอกเดี่ยวเรียงตรงกันข้ามกันบนแกนช่อดอก และมีก้านยาว 2-2.5 มิลลิเมตร กลีบดอกด้านในสีเหลืองเข้ม กลีบดอกด้านนอกสีเหลืองมีลายเส้นสีม่วงแดงผ่านตามยาว ฝักรูปทรงกระบอกโค้งงอออกเล็กน้อย ปลายยอดฝักมีติ่งเป็นเส้นยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร เส้นกลางฝักด้านนอกเป็นแนวยาวลึกลง ฝักยาว 3.65-4.11 เซนติเมตร กว้าง 0.64-0.74 เซนติเมตร มี 7-16 ฝักต่อช่อ ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาลดำมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก ฝักแก่แตก
        แหล่งที่พบและเก็บรวบรวมพันธุ์   พบขึ้นอยู่ทั่วไปในสภาพพื้นที่โล่ง ชายป่า ดินร่วนปนเหนียวดินเหนียวที่มีเนื้อดินละเอียด เช่น พื้นที่ตำบลเขายายเที่ยง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่ (PC 023, PC 025, PC 033, PC 202, LP 187) คุณค่าทางอาหาร ส่วนยอดอ่อน ใบและก้านใบ ระยะเริ่มมีดอก มีค่า
โปรตีน 23.94 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใย 21.01 เปอร์เซ็นต์ ไขมัน 2.65 เปอร์เซ็นต์ เถ้า 2.65 เปอร์เซ็นต์ เยื่อใยส่วนADF 38.60 เปอร์เซ็นต์ NDF 47.67 เปอร์เซ็นต์ ลิกนิน 15.11เปอร์เซ็นต์
         การใช้ประโยชน์   เป็นแหล่งอาหารสัตว์ตามธรรมชาติ ของโค-กระบือ ยาพื้นบ้านล้านนา ใช้ราก ฝนน้ำกินครั้งละ 1 ถ้วยตะไล แก้อาเจียน ชาวเขาเผ่าแม้วและมูเซอ ใช้รากต้มน้ำดื่ม ขับปัสสาวะ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่วในกระเพาะ (วงศ์สถิตย์ และคณะ, 2539)




ฮ่อม



                   
    ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Baphicacanthus cusia  Brem.
   วงศ์ :  Acanthaceae
   ชื่อสามัญ : -
   ชื่ออื่น : คราม ครามหลอย (แม่ฮ่องสอน)  ฮ่อม (เหนือ) ฮ่อมเมือง
   (น่าน)
         ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และเกษตร เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 50-80
เซนติเมตร ลำต้น เป็นข้อปล้องคล้ายขาไก่ แตกกิ่งก้านตามข้อ ลำต้นกลม ใบ เดี่ยวเรียงตรงข้าม หัวใบเรียวท้ายใบแหลมขอบใบหยัก ใบด้านบนสีเขียวมัน ใบแก่หรืออ่อนเมื่อถูกกดหรือทุบทิ้งไว้กลายเป็นสีดำ ดอก เป็นช่อออกตามซอกใบและกิ่ง รูปทรงคล้ายระฆัง ดอกสีม่วง เมล็ด อ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาล แตกง่าย ประโยชน์ : ยาพื้นบ้านล้านนาใช้ ใบ ต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ ยาพื้นบ้านใช้รากและใบต้มน้ำดื่ม แก้ไข้ ปวดศีรษะเนื่องจากหวัด เจ็บคอ หลอดลมอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ ตาอักเสบ ทั้งต้น สับเป็นท่อน แช่กับน้ำผสมปูนขาวประมาณ 10 วัน เพื่อทำสีย้อมผ้า แพทย์จีนทดลองให้คนไข้โรคเอสด์ที่เป็นงูสวัด ดื่มน้ำต้มใบแห้งผสมกับพืชอื่นอีก 3 ชนิดคือ Coptis chinensis, Arnebia euchroma และ Paeonia moutan พบว่าแผลหายภายใน 2 สัปดาห์